การต่อสู้อย่างประปรายจีน–อินเดีย พ.ศ. 2563
การต่อสู้อย่างประปรายจีน–อินเดีย พ.ศ. 2563

การต่อสู้อย่างประปรายจีน–อินเดีย พ.ศ. 2563

นเรนทระ โมที
(นายกรัฐมนตรีอินเดีย)
ราชนาถ สิงห์ (Defence Minister of India)
Gen Bipin Rawat
(Chief of Defence Staff)
Gen Manoj Mukund Naravane
(Chief of the Army Staff)
Lt Gen Yogesh Kumar Joshi
(GOC-in-C, Northern Command)ตำรวจชายแดนอินเดีย-ทิเบตบาดเจ็บ 4 ราย (10 พ.ค.)[4][5]
เสียชีวิต 20[3]
สูญหาย 34[6]
(15 มิ.ย.)
แหล่งข่าวที่เป็นกลาง:
เสียชีวิต 35 (15 มิ.ย.)[9]การต่อสู้อย่างประปรายจีน–อินเดีย พ.ศ. 2563 เป็นส่วนหนึ่งของการเผชิญหน้าทางทหารระหว่างประเทศจีนกับประเทศอินเดีย นับตั้งแต่ 5 พฤษภาคม 2020 กองกำลังของจีนและอินเดียได้มีการรายงานว่ามีส่วนร่วมในการปะทะที่เกรี้ยวกราด (aggressive actions), การเผชิญหน้า (face-offs) และการต่อสู้อย่างประปราย (skirmishes) ที่ตำแหน่งบนพรมแดนจีน-อินเดีย เหตุการณ์การต่อสู้มือเปล่าเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2020 ส่งผลให้มีทหารอินเดีย 20 นายเสียชีวิต[10] แหล่งข้อมูลของอินเดียอ้างว่าทหารจีน 43 นายไม่เสียชีวิตก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส[11][12][13] เหตุการณ์ต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นบริเวณทะเลสาบปังกงในลาดัก และที่ช่องเขา Nathu La ในสิกขิม นอกจากนี้การเผชิญหน้านั้นยังคงดำเนินอยู่ในพื้นที่ทางตะวันออกของลาดัก ตาม Line of Actual Control (LAC) ซึ่งเป็นผลมาจากสงครามจีน-อินเดีย เมื่อปี 1962 ล่าสุด กองกำลังจีนได้ต่อต้านการก่อสร้างถนนของอินเดียบนหุบเขา Galwan River ของอินเดีย[14][15]ระหว่างการเผชิญหน้านั้น อินเดียได้นำคนงาน 12,000 คนเพิ่มเข้ามาประจำในภูมิภาคเพื่อเร่งการสร้างสาธารณูปโภคของอินเดีย[16][17] รถไฟขบวนแรกบรรทุกคนงาน 1,600 คนจากฌารขัณธ์เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2020 ไปยังอุธมปุระ ที่ซึ่งพวกเขาจะเดินทางไปเพื่อสนับสนุนองค์การถนนชายแดนของอินเดียตรงพรมแดนจีน-อินเดีย[18][19] ผู้เชี่ยวชาญตั้งสมมติฐานว่าการเผชิญหน้านี้เป็นมาตรการชิงลงมือเพื่อตอบโต้กับการสร้างเส้นทาง Darbuk–Shyok–DBO Road ของอินเดียในลาดัก[20] ส่วนประเทศจีนก็พัฒนาและสร้างโครงการด้านสาธารณูปโภค ในภูมิภาคที่มีข้อพิพาทพรมแดนนี้อย่างกว้างขวางเช่นกัน[21][22]จากการเพิกถอนสถานภาพพิเศษของชัมมูและกัศมีร์ ของรัฐบาลอินเดียในเดือนสิงหาคม 2019 ได้สร้างปัญหาให้กับประเทศจีนด้วย[23] อย่างไรก็ตาม ทั้งจีนและอินเดียยังคงกลไกทวิภาคีเพื่อแก้ปัญหาเหตุการณ์นี้ผ่านทางการทูตลับ ๆ (quiet diplomacy)[24][25] หลังการปะทะประปรายที่หุบ Galwan เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ข้าราชการอินเดียหลายคนได้ระบุว่าความตึงเครียดบนพรมแดนจะไม่ส่งผลต่อการค้าขายระหว่างประเทศ ท่ามกลางการรณรงค์คว่ำบาตรผลิตภัณฑ์จีนในอินเดีย[26][27]

การต่อสู้อย่างประปรายจีน–อินเดีย พ.ศ. 2563

สถานะ ดำเนินอยู่
วันที่สถานที่สถานะ
วันที่5 พฤษภาคม 2020 – ปัจจุบัน
สถานที่เส้นควบคุมแท้จริง (LAC),
พรมแดนจีน-อินเดีย
สถานะดำเนินอยู่
สถานที่ เส้นควบคุมแท้จริง (LAC),
พรมแดนจีน-อินเดีย
วันที่ 5 พฤษภาคม 2020 – ปัจจุบัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การต่อสู้อย่างประปรายจีน–อินเดีย พ.ศ. 2563 http://en.people.cn/n3/2020/0617/c90000-9701202.ht... //www.worldcat.org/issn/0971-751X https://www.bbc.com/news/world-asia-53061476 https://www.cnn.com/2020/05/11/asia/china-india-bo... https://www.deccanherald.com/international/amid-bo... https://www.hindustantimes.com/india-news/labourer... https://indianexpress.com/article/explained/china-... https://indianexpress.com/article/india/m-m-narava... https://economictimes.indiatimes.com/news/defence/... https://timesofindia.indiatimes.com/city/ranchi/cm...